1. Equity Stop (หยุดขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์)
การหยุดขาดทุนตามเปอร์เซ็นต์หรือตามจำนวนจุดที่ตั้งไว้ เทรดเดอร์หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการตั้ง Stop Loss รูปแบบนี้ประมาณว่า ผมตั้ง Stop Loss 10 จุดในแต่ละออร์เดอร์หรือไม่ก็ ถ้าขาดทุนเกิน 5% ของต้นทุนแล้วผมจะทำการ Stop Loss เลย วิธีนี้เป็นการหยุดขาดทุนในรูปแบบนี้คือการหยุดขาดทุนโดยไม่ดูสภาวะตลาดหรือไม่ดูความเหมาะสมของตลาดเลยเพียงแต่เรากำหนดว่าจะยอมขาดทุนกี่จุด เราก็จะตัดขาดทุนเมื่อราคาผิดทางมากี่จุด ซึ่งผมคิดว่าการตั้ง Stop Loss แบบนี้เป็นวิธีที่ไม่ดีเลย เพราะเป็นการหยุดขาดทุนแบบไม่ลืมหูลืมตา และเป็นการตั้งขาดทุนโดยที่ไม่มีเหตุผล
ดังนั้น ผมจึงไม่แนะนำให้หยุดขาดทุนโดยใช้วิธีการนี้ เนื่องจากการเป็นเทรดเดอร์ที่ดีจะต้อง เปิด ปิด ออร์เดอร์มีเหตุผลในทุกๆครั้งที่ทำการเทรด
2. Time Stop (หยุดขาดทุนตามเวลา)
การหยุดขาดทุนตามเวลา ถ้าพูดมาแบบนี้หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจก็เป็นไปได้ ว่าความจริงแล้วการหยุดขาดทุนตามเวลานั้นเป็นอย่างไร? การหยุดขาดทุนตามเวลาคือ การหยุดขาดทุนเมื่อเราไม่แน่ใจหรือไม่อยากเสี่ยงกับอนาคตที่จะเกิดขึ้น เช่น บางคนอาจจะไม่เทรดข้ามวันแต่เมื่อพอจะนอนก็ทำการปิดออร์เดอร์ที่ถืออยู่ให้หมดแล้วจึงค่อยนอน, บางคนอาจจะไม่เทรดข้ามสัปดาห์เพราะกลัวความผันผวนที่อยู่ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ดังนั้นพอมาถึงวันศุกร์ก็พยายามปิดออร์เดอร์ให้หมด และบางคนอาจจะปิดออร์เดอร์เมื่อใกล้ถึงเวลามีข่าวรุนแรงเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนเมื่อมีข่าวออกมา เป็นต้น
ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการหยุดขาดทุน ในตอนที่เราไม่มั่นใจหรือกลัวความเสี่ยงจะเกิดขึ้นในอนาคต
3. Market Conditions Stop (หยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด)
การหยุดขาดทุนตามสภาวะตลาดเป็นมีกฎการหยุดขาดทุนที่ไม่ตายตัว จะเปลี่ยนรูปแบบและเทคนิคการ Stop Loss ไปตามสภาวะตลาด เช่น ถ้าราคาเคลื่อนที่เป็นเทรนก็จะทำการเลื่อน Stop Loss ไล่ตามราคา, ถ้าราคาเคลื่อนที่ในทิศทาง Sideway ก็จะตั้ง Stop Loss ตามแนวรับแนวต้าน เป็นต้น วิธีนี้เป็นการหยุดขาดทุนแบบนี้เป็นการหยุดขาดทุนที่ต้องมีเหตุผล
ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่ผมอยากแนะนำ เนื่องจากเราไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าในอนาคตตลาดนั้นจะเคลื่อนที่ไปทิศทางไหนเมื่อไหร่กราฟจะแกว่งตัวมากหรือน้อย ปัจจัยเหล่านี้เราไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่นอน 100% ดังนั้น การที่เราจะตั้งกฎตายตัวให้มันก็ย่อมไม่ใช่ความคิดที่ดี